แม้ว่าเทรนด์เรื่องระบบออโตเมชั่นจะไม่ใช่เรื่องใหม่ในภาคอุตสาหกรรม แต่วิกฤติโรคระบาดได้เข้ามาเป็นตัวเร่งให้ผู้ประกอบการมองหาตัวช่วยในการบริหารจัดการการผลิต ตลอดจนปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่ทำให้ระบบอัตโนมัติเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจอีกครั้ง
ในปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งจะมีระบบควบคุมอัตโนมัติที่ใช้ PLC เป็นตัวควบคุมและจะต้องใช้งานร่วมกับ HMI หรือ Human Machine Interface โดยที่ HMI เป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างผู้ใช้งานกับ PLC Module หรือจอแสดงผลต่างๆ และให้ PLC สั่งงานไปที่เครื่องจักรอีกครั้ง เพื่อตอบโจทย์วัตถุประสงค์ต่างๆ ในสายการผลิต
คุณสมบัติของ HMI
1. การสื่อสาร (Communication)
สามารถสื่อสารข้อมูลกับอุปกรณ์อื่นๆ ในรูปแบบดิจิตอล โดยมีประเภทของสัญญาณให้เลือกหลายแบบ
สามารถเชื่อมต่อได้ทั้งอุปกรณ์ PLC, Meter, Controller และอุปกรณ์อื่นอีกมากมายตามการใช้งานประเภทต่างๆ
HMI เพียงตัวเดียวก็สามารถควบคุม หรืออ่านค่าของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์อื่นๆ ที่เชื่อมต่ออยู่ได้อย่างง่ายดาย ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต, LAN หรือ Wireless
2. การเก็บข้อมูล (Data Collection)
สามารถเก็บข้อมูลจากกระบวนการผลิตในรูปแบบไฟล์ Excel
สามารถเข้าถึงข้อมูล (Data Togger) ผ่านทาง Web Browser ได้อย่างง่ายดาย ทำให้สะดวกในการทราบข้อมูล แม้ไม่ได้อยู่ที่หน้างานไลน์ผลิต
3. การเชื่อมต่อ (Connection)
สามารถอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานในการดูค่าหรือควบคุมกระบวนการผลิตจากระยะไกล โดยการเชื่อมต่อผ่านมือถือหรือแท็บเล็ต
ใช้ Web Browser มาตรฐานตัวใดก็ได้ในการดูค่าหรือควบคุม โดยหน้าจอแสดงผลแบบ Real-Time
สามารถส่งข้อความผ่าน SMS หรือ E-Mail แจ้งเตือนให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง
สามารถดูข้อมูลจากหน้าจอ หน่วยบันทึกความจำหรือควบคุม แก้ไข เปลี่ยนค่าได้แม้ไม่อยู่ที่หน้างาน ตอบโจทย์การทำงานแบบ New Normal ในปัจจุบัน
4. การรายงาน (Reporting)
นำเสนอข้อมูลให้กับบุคลากรผู้ดำเนินการหรือผู้บริหารในรูปแบบกราฟฟิค โดยแสดงแผนผังเครื่องจักรในโรงงานที่อยู่ภายใต้การควบคุม เช่น เครื่องสูบน้ำที่เชื่อมต่อกับท่อ สามารถแสดงการทำงานและปริมาณของน้ำที่กำลังสูบผ่านท่อในขณะนั้น ผู้ปฎิบัติงานก็สามารถควบคุมการทำงานของเครื่องสูบน้ำได้ ซอฟท์แวร์ HMI จะแสดงอัตราการไหลของของเหลวในท่อที่ลดลงแบบ Real-Time แผนภาพอาจประกอบด้วยกราฟฟิคและสัญลักษณ์วงจรเพื่อแสดงกระบวนการทำงานหรืออาจเป็นภาพถ่ายดิจิตอลของอุปกรณ์ดังกล่าวในลักษณะภาพเคลื่อนไหว
5. ระบบการแจ้งเตือน (Alarm)
ผู้ปฏิบัติงานมีความจำเป็นต้องรับทราบการแจ้งเตือนหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น ระบบการแจ้งเตือนต้องมีความชัดเจน เช่น สถานะการเตือนภัยแบบค่าดิจิตอลที่มีทั้ง 'ปกติ' หรือ 'ALARM' ระบบจะตรวจสอบโดยอัตโนมัติว่า ตัวเลขอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ สัญญาณเตือนภัยอาจเป็นรูปแบบไซเรน กล่อง Pop-up บนหน้าจอ หรือสีกระพริบบนหน้าจอ (ลักษณะคล้ายไฟเตือนน้ำมันหมดในรถยนต์)
บริษัทฯ ขอแนะนำผลิตภัณฑ์หน้าจอแสดงผลสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมแบรนด์ Maple Systems จากประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยคุณสมบัติของแต่ละรุ่นดังนี้
HMC Series (HMI + PLC)
การผนวก HMI และ PLC ไว้ด้วยกันในเครื่องเดียวช่วยลดต้นทุนและประหยัดพื้นที่
หน้าจอแสดงผล 4.3" - 10.2"
การสื่อสารแบบ Serial และ Ethernet รองรับ Class I, Div 2
มีให้เลือกทั้งแบบ Native Ladder หรือ IEC Programming สามารถสร้าง Object สำหรับงานที่ซับซ้อนได้
สามารถกำหนดค่า I/O ได้สูง
สามารถใช้งานร่วมตัวนับจำนวนและตัวนับความเร็วสูง
มีฟังก์ชั่นการทำงานของเว็บเซิร์ฟเวอร์ในการบันทึกข้อมูลแสดงกราฟ ระบบแจ้งเตือน วิเคราะห์แนวโน้ม และอื่นๆ
Panel PC Series
แพลตฟอร์มมากความสามารถและเอื้อต่อการใช้งานที่มีลักษณะเฉพาะ
สามารถเลือกรุ่นให้เหมาะกับอุตสาหกรรมเบาหรืออุตสาหกรรมหนัก
หน้าจอแสดงผลมีหลายขนาดตั้งแต่ 7"-21.5"
ระบบ SCADA (Supervisory Control & Data Acquisition) และ IIoT (Industrial Internet of Things)
รองรับระบบปฏิบัติการ Windows
มีหน่วยประมวลผลที่รวดเร็ว (Fast Intel Processor)
ทางเลือกสำหรับเครื่องจักรที่ต้องการแรงม้ามากขึ้น
OIT Series
กำหนดสัญลักษณ์ในการแสดงผลได้ตามการใช้งาน
สามารถสื่อสารกับ PLC กว่า 100 รุ่น
ทำงานได้ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง
สามารถกำหนดข้อความที่แสดงและปรับแต่งข้อความเองได้
มีฟังก์ชั่นการทำงานที่เหนือกว่า มีความยืดหยุ่น และคุ้มค่าในราคาย่อมเยาว์
มีซอฟท์แวร์ที่ใช้งานง่าย รองรับ Class I, Div 2
บริษัท พลวัตร จำกัด เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์และการบริการที่เกี่ยวข้องกับ Maple Systems ในประเทศไทย หากคุณกำลังมองหาอุปกรณ์หน้าจอแสดงผลสำหรับใช้งานร่วมกับสายการผลิตหรือระบบอัตโนมัติในโรงงาน สามารถติดต่อทีมงาน เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับใบเสนอราคา
Use left/right arrows to navigate the slideshow or swipe left/right if using a mobile device